การตรวจสอบและปรับตั้งการปรับพื้นฐาน
เพื่อให้แน่ใจว่าจะตัดชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ หลังการใช้งานหนักท่านต้องตรวจสอบการปรับพื้นฐานของเครื่องมือไฟฟ้าและปรับตั้ง หากจำเป็น
สำหรับเรื่องนี้ท่านต้องมีประสบการณ์และเครื่องมือพิเศษที่สอดคล้องกัน
ศูนย์บริการลูกค้า บ๊อช ให้บริการบำรุงรักษาได้รวดเร็วและเชื่อถือได้
หมายเหตุ: เมื่อต้องการทดสอบการทำงานของเลเซอร์ ต้องเชื่อมต่อเครื่องมือไฟฟ้ากับแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า
- ในขณะปรับเลเซอร์ (เช่น เมื่อเคลื่อนแขนเครื่องมือ) อย่ากดสวิทช์เปิด-ปิดอย่างเด็ดขาด การติดขึ้นเองโดยไม่ตั้งใจของเครื่องมือไฟฟ้าอาจทำให้บาดเจ็บได้
- วางเครื่องในตำแหน่งทำงาน
- หมุนโต๊ะเลื่อย (42) ไปจนถึงช่องกัก (15) สำหรับ 0° คันปรับ (13) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
การตรวจสอบ (ดูภาพประกอบ T1)
- วาดเส้นตัดตรงบนชิ้นงาน
- เลื่อนแขนเลื่อน (34) ตรงด้ามจับ (1) ลงอย่างช้าๆ
- จัดตำแหน่งชิ้นงานในลักษณะให้ฟันของใบเลื่อยอยู่ตรงแนวกับเส้นตัด
- จับชิ้นงานไว้ในตำแหน่งนี้ให้แน่น และเลื่อนแขนเลื่อนขึ้นอย่างช้าๆ อีกครั้ง
- หนีบชิ้นงานให้แน่น
- เปิดสวิทช์ลำแสงเลเซอร์ด้วยสวิทช์
ลำแสงเลเซอร์ต้องมีระยะช่องว่างเดียวกันไปยังเส้นตัดที่วาดไว้บนชิ้นงานตลอดความยาวทั้งหมดทั้งทางซ้ายและทางขวา แม้เมื่อเลื่อนแขนเลื่อนลง
การปรับ (ดูภาพประกอบ T2)
1. การปรับลำแสงเลเซอร์ด้านขวา:
- หมุนสกรูปรับด้านขวา (68) ด้วยประแจขันหกเหลี่ยม (18) จนลำแสงเลเซอร์ทางขวากับเส้นตัดที่วาดไว้บนชิ้นงานราบเป็นระดับเดียวกันตลอดความยาวทั้งหมด
ลำแสงเลเซอร์ด้านซ้ายจะย้ายไปตามด้วย
การหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบจะย้ายลำแสงเลเซอร์จากซ้ายไปขวา การหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบจะย้ายลำแสงเลเซอร์จากขวาไปซ้าย
2. การปรับลำแสงเลเซอร์ด้านซ้าย:
- หมุนสกรูปรับด้านซ้าย (68) ด้วยประแจขันหกเหลี่ยม (18) จนลำแสงเลเซอร์ด้านซ้ายมีระยะห่างจากเส้นตัดที่วาดไว้บนชิ้นงานเหมือนกับลำแสงเลเซอร์ด้านขวา
การหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบจะย้ายลำแสงเลเซอร์จากซ้ายไปขวา การหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกาหนึ่งรอบจะย้ายลำแสงเลเซอร์จากขวาไปซ้าย
- วางเครื่องในตำแหน่งขนย้าย
- หมุนโต๊ะเลื่อย (42) ไปจนถึงช่องกัก (15) สำหรับ 0°คันปรับ (13) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
การตรวจสอบ (ดูภาพประกอบ U1)
- ตั้งอุปกรณ์วัดมุมที่ 90° และวางไว้บนโต๊ะเลื่อย (42)
ขาของอุปกรณ์วัดมุมต้องทาบเรียบกับใบเลื่อย (44) ตลอดความยาวทั้งหมด
การปรับ (ดูภาพประกอบ U2)
- คลายด้ามหนีบ (14) ออก
- คลายสกรูปรับทั้งสองตัว (69) ออก (อย่างน้อย 1 รอบหมุน) ด้วยประแจบ๊อกซ์ (10 มม.)
- คลายสกรูปรับ (71) ออก (ประมาณ 3 รอบหมุน) ด้วยประแจขันหกเหลี่ยม (4 มม.) (17)
- ขันสกรูปรับ (70) เข้าหรือออกด้วยประแจขันหกเหลี่ยม (4 มม.) (17) จนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
- ยึดด้ามหนีบ (14) กลับเข้าที่ให้แน่นอีกครั้ง จากนั้นให้ขันสกรูปรับ (71) ก่อน แล้วจึงขันสกรูปรับ (69) กลับเข้าให้แน่นอีกครั้ง
ในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเข็มชี้มุม (37) และ (21) ไม่อยู่ในแนวเส้นขีด 0° ของมาตราส่วน (36) ให้คลายสกรูยึดของเข็มชี้มุมออกด้วยไขควงปากแฉก และวางแนวเข็มชี้มุมเทียบกับเส้นขีด 0°
- วางเครื่องในตำแหน่งทำงาน
- หมุนโต๊ะเลื่อย (42) ไปจนถึงช่องกัก (15) สำหรับ 0° คันปรับ (13) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
- ดึงแผ่นกั้นปรับได้ด้านซ้าย (6) ออกมาด้านนอกทั้งหมด
- คลายด้ามหนีบ (14) ออก และหมุนแขนเลื่อนตรงด้ามจับ (1) ไปทางซ้ายจนสุด (45°)
การตรวจสอบ (ดูภาพประกอบ V1)
- ตั้งอุปกรณ์วัดมุมที่ 45° และวางไว้บนโต๊ะเลื่อย (42)
ขาของอุปกรณ์วัดมุมต้องทาบเรียบกับใบเลื่อย (44) ตลอดความยาวทั้งหมด
การปรับ (ดูภาพประกอบ V2)
- ขันสกรูปรับ (72) เข้าหรือออกด้วยประแจปากตาย (8 มม.) จนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
- ยึดด้ามหนีบ (14) กลับเข้าที่ให้แน่นอีกครั้ง
ในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเข็มชี้มุม (37) และ (21) ไม่อยู่ในแนวเส้นขีด 45° ของมาตราส่วน (36) ในขั้นแรกให้ตรวจสอบการตั้ง 0° สำหรับมุมเอียงในแนวตั้งและเข็มชี้มุมอีกครั้ง จากนั้นจึงปรับซ้ำมุมเอียงในแนวตั้ง 45°
- วางเครื่องในตำแหน่งทำงาน
- หมุนโต๊ะเลื่อย (42) ไปจนถึงช่องกัก (15) สำหรับ 0° คันปรับ (13) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
- ดึงแผ่นกั้นปรับได้ด้านขวา (6) ออกมาด้านนอกทั้งหมด
- คลายด้ามหนีบ (14) ออก
|
- หมุนแขวนเลื่อนตรงด้ามจับ (1) ไปทางขวาจนสุด (45°)
การตรวจสอบ (ดูภาพประกอบ W1)
- ตั้งอุปกรณ์วัดมุมที่ 135° และวางไว้บนโต๊ะเลื่อย (42)
ขาของอุปกรณ์วัดมุมต้องทาบเรียบกับใบเลื่อย (44) ตลอดความยาวทั้งหมด
การปรับ (ดูภาพประกอบ W2)
- ขันสกรูปรับ (73) เข้าหรือออกด้วยประแจปากตาย (8 มม.) จนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
- ยึดด้ามหนีบ (14) กลับเข้าที่ให้แน่นอีกครั้ง
ในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเข็มชี้มุม (37) และ (21) ไม่อยู่ในแนวเส้นขีด 45° ของมาตราส่วน (36) ในขั้นแรกให้ตรวจสอบการตั้ง 0° สำหรับมุมเอียงในแนวตั้งและเข็มชี้มุมอีกครั้ง จากนั้นจึงปรับซ้ำมุมเอียงในแนวตั้ง 45°
- วางเครื่องในตำแหน่งทำงาน
- หมุนโต๊ะเลื่อย (42) ไปจนถึงช่องกัก (15) สำหรับ 0°คันปรับ (13) ต้องขบเข้าในช่องกักอย่างรู้สึกได้
การตรวจสอบ (ดูภาพประกอบ X1)
- ปรับอุปกรณ์วัดมุมไปที่ 90° และวางไว้ระหว่างแผ่นกั้น (7) และใบเลื่อย (44) บนโต๊ะเลื่อย (42)
ขาของอุปกรณ์วัดมุมต้องทาบเรียบกับใบเลื่อย (44) ตลอดความยาวทั้งหมด
การปรับ (ดูภาพประกอบ X2)
- คลายสกรูตั้งทั้งสี่ตัว (74) ออกด้วยประแจขันหกเหลี่ยม (4 มม.) (17) และหมุนโต๊ะเลื่อย (42) พร้อมกับมาตราส่วน (41) จนขาของอุปกรณ์วัดมุมทาบเรียบกับใบเลื่อยตลอดความยาวทั้งหมด
- ขันสกรูกลับให้แน่นอีกครั้ง
ในกรณีที่เมื่อปรับแล้วเข็มชี้มุม (64) ไม่อยู่ในแนวเส้นขีด 0° ของมาตราส่วน (41) ให้คลายสกรู (75) ออกด้วยไขควงปากแฉก และวางแนวเข็มชี้มุมเทียบกับเส้นขีด 0°
ท่านสามารถปรับแรงหนีบของคันหนีบ (14) ได้
การตรวจสอบ
- แรงหนีบของด้ามหนีบต้องยึดตำแหน่งของแขนเลื่อนที่มุมเอียงในแนวตั้งทั้งหมดไว้อย่างแน่นหนา
การปรับ
- คลายด้ามหนีบ (14) ออก
- หมุนสกรูปรับ (76) ในทิศทวนเข็มนาฬิกาด้วยประแจบ๊อกซ์ (17 มม.) เพื่อลดแรงหนีบ หรือหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มแรงหนีบ
- ปรับมุมเอียงในแนวตั้ง ยึดด้ามหนีบ (14) กลับเข้าให้แน่นอีกครั้ง และตรวจสอบว่าได้แรงหนีบที่ต้องการแล้วหรือไม่