การดูดฝุ่น/ขี้เลื่อย
ฝุ่นที่ได้จากวัสดุ เช่น เคลือบผิวที่มีสารตะกั่ว ไม้บางประเภท แร่ธาตุ และโลหะ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การสัมผัสหรือการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ฝุ่น และ/หรือนำมาซึ่งโรคติดเชื้อระบบหายใจแก่ผู้ใช้เครื่องหรือผู้ที่ยืนอยู่ใกล้เคียง
ฝุ่นบางประเภท เช่น ฝุ่นไม้โอ๊ก หรือไม้บีช นับเป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผสมกับสารเติมแต่งเพื่อบำบัดไม้ (โครเมต ผลิตภัณฑ์รักษาเนื้อไม้) สำหรับวัสดุที่มีแอสเบสทอสต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทำงานเท่านั้น
- ใช้ระบบดูดฝุ่นออกที่เหมาะสมกับประเภทวัสดุ มากเท่าที่จะทำได้
- จัดสถานที่ทำงานให้มีการระบายอากาศที่ดี
- ขอแนะนำให้สวมหน้ากากป้องกันการติดเชื้อที่มีระดับ-ไส้กรอง P2
ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวัสดุชิ้นงาน ที่บังคับใช้ในประเทศของท่าน
อุปกรณ์ดูดฝุ่น/ขี้เลื่อยอาจอุดตันด้วยฝุ่น ขี้เลื่อย หรือสะเก็ดชิ้นงาน
- ปิดสวิทช์เครื่อง และดึงปลั๊กไฟฟ้าออกจากเต้าเสียบ
- รอจนใบเลื่อยหยุดสนิท
- หาสาเหตุของการอุดตันและทำการแก้ไข
- ป้องกันการสะสมของฝุ่นในสถานที่ทำงาน ฝุ่นสามารถลุกไหม้อย่างง่ายดาย
- เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้เมื่อเลื่อยอะลูมิเนียม ให้เททิ้งฝุ่นในช่องพ่นขี้กบออก และอย่าใช้การดูดฝุ่น/ขี้เลื่อย
การเททิ้งฝุ่นในช่องพ่นขี้กบออก (ดูภาพประกอบ i)
ท่านสามารถเททิ้งสะเก็ดชิ้นงานและเศษตัดชิ้นใหญ่ได้โดยเปิดแผงปิดใบเลื่อย (52)
- ปิดสวิทช์เครื่องมือไฟฟ้าและดึงปลั๊กไฟฟ้าออกจากเต้าเสียบ
- รอจนใบเลื่อยหยุดสนิท
- เอียงเครื่องมือไฟฟ้าไปทางด้านข้าง
- คลายสกรูยึด (53) และเปิดแผ่นครอบใบเลื่อยด้านล่าง (52)
- เอาเศษและสะเก็ดชิ้นงานออก
- ปิดแผ่นครอบใบเลื่อยด้านล่างและขันเข้าให้แน่นอีกครั้ง
- จัดเครื่องมือไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งทำงาน
การดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่นภายนอก (ดูภาพประกอบ j)
- สวมท่อดูดฝุ่นที่เข้ากันได้เข้าในข้อต่อท่อดูดออก (34)
เครื่องดูดฝุ่นต้องมีลักษณะการใช้งานที่เหมาะกับประเภทวัสดุชิ้นงาน
ในกรณีดูดฝุ่นแห้งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่งหรืออาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นพิเศษ