คำแนะนำในการปฏิบัติงาน
- จับเครื่องมือไฟฟ้าเข้าบนหัวสกรู/น๊อตเมื่อเครื่องปิดอยู่เท่านั้น เครื่องมือที่หมุนอยู่อาจลื่นไถล
แรงบิดจะขึ้นอยู่กับระยะเวลากระแทก แรงบิดสูงสุดที่ได้เป็นผลจากยอดรวมของแต่ละแรงบิดที่ได้จากการกระแทก โดยจะได้แรงบิดสูงสุดหลังจากระยะเวลากระแทกผ่านไป 6-10 วินาที หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว แรงบิดจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ระยะเวลากระแทกจำเป็นต้องได้รับการกำหนดสำหรับทุกแรงบิดที่จำเป็น ทั้งนี้ให้ตรวจสอบแรงบิดที่ได้จริงโดยใช้ประแจทอร์กเสมอ
การขันเกลียวเนื้อแข็ง ยืดหยุ่น หรือนุ่ม
ในการทดสอบ หากแรงบิดที่ได้ในการกระแทกเป็นลำดับติดต่อกันถูกวัดและถ่ายโอนเข้าสู่แผนภาพ ระบบจะแสดงผลเป็นเส้นโค้งตามลักษณะของแรงบิด ระดับความสูงของเส้นโค้งจะสอดคล้องกับแรงบิดสูงสุดที่ได้ ขณะที่ระดับความชันจะแสดงเวลาที่แรงบิดถึงระดับสูงสุด
ลักษณะของแรงบิดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้:
- ความแข็งของสกรู/น็อต
- ประเภทของฐานรอง (ปะเก็นวงแหวน สปริงจาน หรือซีล)
- ความแข็งของวัสดุที่จะขันสกรู
- สัดส่วนการหล่อลื่นบริเวณรอยต่อสกรู
เนื่องด้วยปัจจัยข้างต้น จึงสามารถขันเกลียวแบบต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้:
- การขันเกลียวเนื้อแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อขันโลหะเข้ากับโลหะโดยใช้แหวนรอง หลังจากเวลากระแทกผ่านไปช่วงสั้นๆ แรงบิดจะถึงระดับสูงสุด (เส้นโค้งมีลักษณะลาดชัน) โดยการกระแทกเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็นมีแต่จะทำให้เครื่องมือชำรุดเสียหายเท่านั้น
- การขันเกลียวเนื้อยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นเมื่อขันโลหะเข้ากับโลหะ หากแต่ใช้วงแหวนสปริง สปริงจาน สตัดโบลท์ หรือสกรู/น็อตที่มีก้นรูปกรวย รวมถึงเมื่อใช้ส่วนต่อขยาย
- การขันเกลียวเนื้อนุ่มจะเกิดขึ้นเมื่อขันโลหะเข้ากับไม้ เป็นต้น หรือเมื่อใช้ปะเก็นวงแหวนที่ทำจากตะกั่วหรือไฟเบอร์เป็นฐานรอง
สำหรับการขันเกลียวเนื้อยืดหยุ่นหรือเนื้อนุ่ม แรงบิดสูงสุดจะต่ำกว่าแรงบิดในการขันเกลียวเนื้อแข็ง ทั้งยังจำเป็นต้องใช้เวลากระแทกนานกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ค่าอ้างอิงสำหรับแรงบิดขันแน่นสูงสุดสำหรับสกรู
กำหนดเป็น Nm คำนวณจากรูปตัดแรงเค้น; การใช้ประโยชน์จากจุดคราก 90% (มีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน μผลรวม = 0.12)สำหรับการควบคุม ให้ตรวจสอบแรงบิดขันแน่นด้วยประแจวัดแรงบิดเสมอ
ระดับคุณสมบัติตาม DIN 267 | สกรู/โบล์ทมาตรฐาน | โบล์ทความแข็งสูง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3.6 | 4.6 | 5.6 | 4.8 | 6.6 | 5.8 | 6.8 | 6.9 | 8.8 | 10.9 | 12.9 | |
M6 | 2.71 | 3.61 | 4.52 | 4.8 | 5.42 | 6.02 | 7.22 | 8.13 | 9.7 | 13.6 | 16.2 |
M8 | 6.57 | 8.7 | 11 | 11.6 | 13.1 | 14.6 | 17.5 | 19.7 | 23 | 33 | 39 |
M10 | 13 | 17.5 | 22 | 23 | 26 | 29 | 35 | 39 | 47 | 65 | 78 |
M12 | 22.6 | 30 | 37.6 | 40 | 45 | 50 | 60 | 67 | 80 | 113 | 135 |
M14 | 36 | 48 | 60 | 65 | 72 | 79 | 95 | 107 | 130 | 180 | 215 |
M16 | 55 | 73 | 92 | 98 | 110 | 122 | 147 | 165 | 196 | 275 | 330 |
เคล็ดลับ
ก่อนขันสกรูตัวใหญ่กว่า ยาวกว่า เข้าในเป็นวัสดุแข็ง ท่านควรเจาะรูนำด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางหลักของเกลียวลึกประมาณ 2/3 ของความยาวสกรู
หมายเหตุ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กใดๆ ลอดเข้าไปในเครื่องมือไฟฟ้า
คำแนะนำสำหรับการจัดการกับแบตเตอรี่อย่างเหมาะสม
ปกป้องแบตเตอรี่จากความชื้นและน้ำ
เก็บรักษาแบตเตอรี่ในช่วงอุณหภูมิ - 20 °C ถึง 50 °C เท่านั้น อย่าปล่อยวางแบตเตอรี่ไว้ในรถยนต์ในช่วงฤดูร้อน
ทำความสะอาดช่องระบายอากาศเป็นครั้งคราวโดยใช้แปรงขนอ่อนที่แห้งและสะอาด
หลังจากชาร์จแบตเตอรี่แล้ว หากแบตเตอรี่มีช่วงเวลาทำงานสั้นมาก แสดงว่าแบตเตอรี่เสื่อมและต้องเปลี่ยนใหม่
ปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับการกำจัดที่ถูกต้อง