ข้อแนะนำในการทำงาน

  • แรงจับแม่เหล็กของเครื่องมือไฟฟ้าขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานเป็นหลัก แรงจับแม่เหล็กที่แข็งแกร่งที่สุดได้จากเหล็กกล้าละมุนที่มีความหนาอย่างน้อย 20 มม

หมายเหตุ: เมื่อเจาะเหล็กที่มีความหนาน้อยกว่า ต้องวางแผ่นเหล็กเพิ่มเติม (ขนาดขั้นต่ำ 100 x 200 x 20 มม.) ไว้ใต้ฐานแม่เหล็ก ยึดแผ่นเหล็กให้แน่นกันการตกหล่น

  • เมื่อทำงานเหนือศีรษะหรือบนพื้นผิวที่ไม่ใช่แนวนอนให้ยึดเครื่องมือไฟฟ้าด้วยสายรัดนิรภัย ในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้องหรือมีการทำงานเกินพิกัด เครื่องจะไม่สามารถรักษาแรงจับยึดแม่เหล็กไว้ได้ เครื่องมือไฟฟ้าอาจหล่นลงมาและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • หากเครื่องมือติดขัด ให้หยุดการป้อนและปิดสวิทช์เครื่องมือไฟฟ้า ตรวจสอบสาเหตุของการติดขัดและแก้ไขสาเหตุที่เครื่องมือติดขัด อย่าใช้ฟังก์ชันการหมุนทางซ้าย
  • ตรวจสอบทุกส่วนของระบบหล่อเย็นทุกครั้งก่อนเริ่มทำงาน อย่าใช้ชิ้นส่วนที่เสียหายอย่างเด็ดขาด
  • นำน้ำยาหล่อเย็นออกห่างจากชิ้นส่วนเครื่องมือและคนที่อยู่ในบริเวณทำงาน

พื้นผิวชิ้นงานต้องราบเรียบและสะอาด ขัดส่วนที่เป็นเนื้อขรุขระให้เรียบ เช่น รอยเชื่อม และกำจัดสนิมร่วน สิ่งสกปรก และจาระบีออกจากพื้นผิว แรงจับของแม่เหล็กใช้ได้กับพื้นที่ที่เหมาะสมเท่านั้น

ท่านสามารถสตาร์ทมอเตอร์เครื่องมือไฟฟ้าเฉพาะเมื่อแม่เหล็กเปิดสวิทช์อยู่เท่านั้น ควรตรวจสอบแรงแม่เหล็กก่อนทำงานเจาะ

ไฟแสดงแรงแม่เหล็ก (21)

แรงแม่เหล็ก

ไฟต่อเนื่อง สีเขียว

แรงแม่เหล็กเพียงพอ

ไฟกะพริบ สีแดง

แรงแม่เหล็กไม่เพียงพอ ห้ามใช้งานเครื่องมือไฟฟ้า
สาเหตุ: ความหนาของวัสดุไม่เพียงพอ พื้นผิวไม่ราบเรียบ ปกคลุมด้วยสังกะสี สะเก็ด หรือเคลือบเงา วัสดุที่ไม่เหมาะสม (ต. ย. เช่น เหล็กกล้าคาร์บอนสูง)

  • เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกสว่านร้อนเกินไปหรือติดขัด ให้ใช้สารหล่อลื่นการเจาะหรือน้ำมันหล่อเย็นเพื่อระบายความร้อนและหล่อลื่น
    ระบบน้ำยาหล่อเย็นที่จัดส่งมาพร้อมกับตัวเครื่องต้องใช้กับการเจาะสว่านพร้อมดอกเจาะแบบกัดรอบวงเท่านั้น
  • เจาะนำศูนย์ที่ชิ้นงานเพื่อทำการเจาะสว่าน
  • ดอกสว่านร่องเกลียว: เมื่อต้องการเจาะรูที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง >10 มม. ให้เจาะรูนำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กก่อน ในลักษณะนี้ท่านสามารถลดแรงกดป้อนและเครื่องมือไฟฟ้าจะไม่ถูกใช้งานหนักเกินไป
  • ใช้ดอกเจาะแบบกัดรอบวงที่คมและไม่มีตำหนิเท่านั้นเมื่อทำงานเจาะ (อุปกรณ์เสริมจากแบรนด์ต่างๆ)
  • เลือกความเร็วรอบที่เหมาะสมและเป็นไปตามข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือเจาะ
    หมายเหตุ: จำเป็นต้องใช้ความเร็วรอบต่ำสุดเมื่อทำการตัดเกลียว

  • เปิดใช้งานเส้นเลเซอร์ (สวิตช์เปิด/ปิดเลเซอร์ (7))
  • จัดแนวเครื่องมือไฟฟ้าด้วยกากบาทเลเซอร์บนชิ้นงาน
  • เปิดระบบแม่เหล็กเพื่อให้เครื่องมือไฟฟ้าจับยึดชิ้นงาน (สวิตช์เปิด/ปิดระบบแม่เหล็ก (20))
  • เมื่อเจาะในพื้นผิวแนวตั้ง หรือเอียง หรือเหนือศีรษะ ให้ยึดเครื่องมือไฟฟ้าด้วยสายรัดนิรภัย (44)
  • ตั้งค่าความเร็วรอบที่เหมาะสม (ล้อปรับเลือกความเร็วรอบล่วงหน้า (2))
  • เปิดใช้งานเครื่องมือไฟฟ้า (สวิตช์เปิด/ปิดมอเตอร์ (9))
  • เมื่อต้องการหมุน ให้หมุนมือหมุน (4) ด้วยอัตราป้อนคงที่จนถึงความลึกการเจาะที่ต้องการ
  • เมื่อถึงความลึกการเจาะที่ต้องการ ให้หมุนมือหมุนกลับจนชุดขับกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นอีกครั้ง
  • ปิดสวิทช์เครื่องมือไฟฟ้า คลายสายรัดนิรภัยออกหากจำเป็น และปิดสวิทช์เลเซอร์และแม่เหล็ก

  • ใช้ดอกเจาะแบบกัดรอบวงที่ไม่มีตำหนิเท่านั้นและตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้ง ห้ามใช้ดอกเจาะแบบกัดรอบวงที่เสียหาย
  • ปิดสวิทช์เครื่องมือไฟฟ้าทันทีหากดอกเจาะแบบกัดรอบวงติดขัด
  • ให้ปกป้องดอกเจาะแบบกัดรอบวง ปลายดอกเจาะแบบกัดรอบวงนั้นแข็ง แต่แตกหักได้ด้วย

มาตรการต่อไปนี้ช่วยลดหรือชะลอความสึกหรอและการแตกหักของดอกเจาะแบบกัดรอบวง:

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีน้ำยาหล่อเย็นเพียงพอเมื่อเจาะเหล็กกล้า ให้ใช้น้ำยาหล่อเย็นสำหรับการตัดโลหะ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นงานสะอาดและราบเรียบเพื่อให้มีแรงแม่เหล็กที่จำเป็น
  • ก่อนทำการเจาะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนทั้งหมดได้รับการยึดอย่างถูกต้อง
  • เมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดกระบวนการเจาะควรลดแรงกดป้อนลง 1/3
  • เมื่อมีเศษโลหะจำนวนมากในระหว่างการเจาะในวัสดุ เช่น เหล็กหล่อ หล่อทองแดง ฯลฯ อาจใช้อากาศอัดแทนน้ำยาหล่อเย็นเพื่อช่วยนำเศษโลหะออกมา

เครื่องมือไฟฟ้าจะหยุดทำงานเมื่อกดสวิทช์เปลี่ยนทิศทางการหมุน (8) ในระหว่างการเจาะ
เมื่อสวิทช์เปลี่ยนทิศทางการหมุนอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง ท่านสามารถหมุนเครื่องมือตามเข็มนาฬิกาโดยกดสวิทช์เปิด-ปิดมอเตอร์ (9) อย่างต่อเนื่อง
ในลักษณะนี้จะทำให้กระบวนการต๊าปเกลียวเสร็จสมบูรณ์อย่างราบรื่น