การใส่/การเปลี่ยนใบเลื่อย
- ถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่องมือไฟฟ้าก่อนทำการปรับแต่งใดๆ ที่เครื่องมือไฟฟ้า (ต. ย. เช่น บำรุงรักษา เปลี่ยนเครื่องมือ ฯลฯ) รวมทั้งเมื่อขนย้ายและเก็บรักษา อันตรายจากการบาดเจ็บหากสวิทช์เปิด-ปิดติดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ
- สวมถุงมือป้องกันอันตรายเมื่อติดตั้งใบเลื่อย การสัมผัสกับใบเลื่อยจะทำให้บาดเจ็บได้
- ใช้เฉพาะใบเลื่อยที่ตรงตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานนี้และบนเครื่องมือไฟฟ้า และได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN 847-1 และทำเครื่องหมายไว้เท่านั้น
- ความเร็วรอบที่อนุญาตของเครื่องมืออย่างน้อยที่สุดต้องสูงเท่ากับความเร็วรอบสูงสุดที่ระบุไว้บนเครื่องมือไฟฟ้า อุปกรณ์ประกอบที่หมุนเร็วกว่าความเร็วรอบกำหนดของตัวเองอาจกระเด็นออกเป็นชิ้นๆ
- อย่านำจานขัดมาใช้เป็นเครื่องมืออย่างเด็ดขาด
เมื่อต้องการเปลี่ยนเครื่องมือตัด ทางที่ดีที่สุดควรวางเครื่องโดยกลับเอาด้านหัวของที่ครอบมอเตอร์ลง
- กดปุ่มล็อคแกน (10) และกดค้างไว้
- กดปุ่มล็อคแกน (10) เมื่อใบเลื่อยหยุดนิ่งอยู่กับที่แล้วเท่านั้น มิฉะนั้นเครื่องอาจชำรุดได้
- ใช้ประแจขันหกเหลี่ยม (31) ขันโบลท์ยึด (29) ออกโดยหมุนไปในทิศทางหมุน ➊
- กระดกกระบังป้องกันใบเลื่อยชนิดชักร่นได้ (12) ไปด้านหลังและจับไว้ให้แน่น
- ถอดน๊อตยึด (28) และใบเลื่อย (27) ออกจากแกนเครื่อง (25)
เมื่อต้องการเปลี่ยนเครื่องมือ ทางที่ดีที่สุดควรวางเครื่องมือไฟฟ้าโดยจับด้านหน้าของที่ครอบมอเตอร์ลง
- ทำความสะอาดใบเลื่อย (27) และชิ้นส่วนยึดหนีบที่จะติดตั้งทั้งหมด
- กระดกกระบังป้องกันใบเลื่อยชนิดชักร่นได้ (12) ไปด้านหลังและจับไว้ให้แน่น
- ประกบใบเลื่อย (27) เข้ากับน๊อตรอง (26) ทิศทางตัดของฟัน (ทิศทางลูกศรบนใบเลื่อย) และทิศทางหมุนของลูกศรที่แสดงบนกระบังป้องกันใบเลื่อยชนิดชักร่นได้ (12)
- ประกอบน๊อตยึด (28) และขันโบลท์ยึด (29) เข้าโดยหมุนไปในทิศทางหมุน ➋ ตรวจสอบให้น๊อตรอง (26) และน๊อตยึด (28) อยู่ในตำแหน่งประกอบที่ถูกต้อง
- กดปุ่มล็อคแกน (10) และกดค้างไว้
- ใช้ประแจขันหกเหลี่ยม (31) ขันโบลท์ยึด (29) เข้าให้แน่นโดยหมุนไปในทิศทางหมุน ➋ แรงบิดการขันควรอยู่ระหว่าง 6–9 นิวตันเมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับการหมุนด้วยมือจนตึงบวก ¼ รอบ