ข้อแนะนำในการทำงาน

แรงบิด‌ขึ้นอยู่‌กับ‌ระยะ‌เวลา‌กระแทก แรงบิด‌สูงสุด‌ที่‌ได้‌เป็น‌ผล‌จาก‌ยอดรวม‌ของ‌แต่ละ‌แรงบิด‌ที่‌ได้จาก‌การกระแทก จะได้แรงบิดสูงสุดหลังจากกระแทกไปได้ 6-10 วินาที หลัง‌ช่วง‌เวลานี้ แรงบิด‌จะ‌เพิ่มขึ้น‌เพียง‌เล็กน้อย‌เท่านั้น
ต้อง‌กำหนด‌ระยะ‌เวลา‌กระแทก‌สำหรับ‌ทุกๆ แรงบิด‌ที่‌ต้องการ ตรวจสอบ‌แรงบิด‌ที่‌ได้จริง‌ด้วยประแจวัดแรงบิด‌เสมอ

การขันสกรูแบบแข็ง แบบยืดหยุ่น หรือแบบนุ่ม
ในการทดสอบ แรงบิดที่ได้ในการกระแทกเป็นลำดับติดต่อกันจะถูกวัดและโอนเข้าแผนภาพ ซึ่งจะแสดงผลเป็นเส้นโค้งของลักษณะแรงบิด ระดับ‌ความสูง‌ของ‌เส้นโค้ง‌คือ‌แรงบิด‌สูงสุด‌ที่‌ไป‌ถึงได้ และ‌ระดับ‌ความชัน‌แสดง‌ระยะ‌เวลา‌ที่‌ไปถึง‌แรงบิด‌สูงสุด

ความลาด‌ของ‌แรงบิด‌ขึ้นอยู่‌กับ‌ปัจจัย‌ต่อไปนี้:

  • คุณสมบัติ‌ความแข็ง‌ของ‌สกรู/น๊อต
  • ชนิด‌ของ‌ตัวเสริม (ปะเก็น‌วงแหวน สปริงแผ่น แผ่นซีล)
  • คุณสมบัติ‌ความแข็ง‌ของ‌วัสดุ‌ที่‌จะ‌ขัน‌สกรู/‌โบล์ท‌เข้าไป
  • สภาพ‌การหล่อลื่น‌น้ำมัน‌ตรง‌รอยต่อ‌ระหว่าง‌สกรู/‌โบล์ท‌และ‌วัสดุ‌ที่‌ขัน‌เข้าไป

เนื่องด้วย‌ปัจจัย‌ดังกล่าว‌ข้างต้น จึงมี‌การขัน‌แบบ‌ต่างๆ กันดัง‌ต่อไปนี้:

  • การขันแบบแข็ง เกิดขึ้นเมื่อขันโลหะบนโลหะโดยใช้ปะเก็นวงแหวน หลัง‌ใช้‌เวลา‌กระแทก‌ช่วง‌สั้นๆ ก็‌จะได้‌แรงบิด‌สูงสุด (เส้นโค้ง‌มี‌ลักษณะ‌ลาดชัน) การกระแทก‌เป็น‌เวลา‌นาน‌โดย‌ไม่‌จำเป็น‌จะ‌ทำให้‌เครื่อง‌ชำรุด‌เสียหาย‌เท่านั้น
  • การขันแบบยืดหยุ่น เกิดขึ้นเมื่อขันโลหะบนโลหะ หากแต่ใช้วงแหวนสปริง สปริงแผ่น ตะปูหัวใหญ่หรือสกรู/น๊อตที่มีก้นรูปกรวย และเมื่อใช้ส่วนขยายเพิ่มเติม
  • การขันแบบนุ่ม เกิดขึ้นเมื่อขันสกรู ต. ย. เช่น โลหะบนไม้ หรือเมื่อใช้ปะเก็นวงแหวนตะกั่ว หรือปะเก็นวงแหวนไฟเบอร์เป็นตัวเสริม

แรงบิด‌สูงสุด‌ของ‌การขัน‌แบบ‌ยืดหยุ่น‌และ‌แบบ‌นุ่ม‌จะ‌ต่ำกว่า‌แรงบิด‌ขันแน่น‌สูงสุด‌ของ‌การขัน‌แบบแข็ง และ‌ยัง‌ต้องการ‌ระยะ‌เวลา‌กระแทก‌ที่‌ยาวนาน‌กว่า‌อย่าง‌เห็น‌ได้ชัด‌อีกด้วย

ค่าอ้างอิงสำหรับแรงบิดขันแน่นสูงสุดสำหรับสกรู
กำหนดเป็น Nm คำนวณจากรูปตัดแรงเค้น; การใช้ประโยชน์จากจุดคราก 90% (มีค่าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน μผลรวม = 0.12)สำหรับ‌การควบคุม ให้‌ตรวจสอบ‌แรงบิด‌ขันแน่นด้วย‌ประแจวัดแรงบิด‌เสมอ

ระดับคุณสมบัติ‌ตาม DIN 267

สกรู/โบล์ทมาตรฐาน

โบล์ท‌ความแข็งสูง

3.6

4.6

5.6

4.8

6.6

5.8

6.8

6.9

8.8

10.9

12.9

M6

2.71

3.61

4.52

4.8

5.42

6.02

7.22

8.13

9.7

13.6

16.2

M8

6.57

8.7

11

11.6

13.1

14.6

17.5

19.7

23

33

39

M10

13

17.5

22

23

26

29

35

39

47

65

78

M12

22.6

30

37.6

40

45

50

60

67

80

113

135

M14

36

48

60

65

72

79

95

107

130

180

215

M16

55

73

92

98

110

122

147

165

196

275

330

คำแนะนำ

ก่อนขันสกรูตัวใหญ่กว่า ยาวกว่า เข้าในเป็นวัสดุแข็ง ท่านควรเจาะรูนำด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางหลักของเกลียวลึกประมาณ 2/3 ของความยาวสกรู

หมายเหตุ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กใดๆ ลอดเข้าไปในเครื่องมือไฟฟ้า

หลังจากทำงานที่ความเร็วรอบต่ำเป็นเวลานาน ท่านควรเดินเครื่องมือไฟฟ้าตัวเปล่าที่ความเร็วสูงสุดเป็นเวลาประมาณ 3 นาทีเพื่อให้เครื่องเย็นลง

คลิปเข็มขัด

ท่านสามารถใช้คลิปเข็มขัด (3) เพื่อแขวนเครื่องมือไฟฟ้า ต. ย. เช่น บนเข็มขัด จากนั้นท่านจะ‌มี‌มือว่าง‌ทั้งสอง‌ข้างและ‌สามารถ‌หยิบจับ‌เครื่องมือไฟฟ้า‌ได้‌ตลอด‌เวลา