ติดตั้งและขึงโซ่เลื่อย
- เชื่อมต่อเครื่องมือไฟฟ้าเข้ากับแหล่งจ่ายไฟต่อเมื่อติดตั้งเครื่องมือเสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น
- สวมถุงมือป้องกันเสมอเมื่อจัดการกับโซ่เลื่อย
การประกอบตัวเลื่อยและโซ่เลื่อย (ดูภาพประกอบ A–C)
- นำชิ้นส่วนทั้งหมดออกจากบรรจุภัณฑ์อย่างระมัดระวัง
- วางเครื่องมือไฟฟ้าบนพื้นผิวที่ราบเรียบ
- วางโซ่เลื่อย (8) เข้าไปในร่องของตัวเลื่อย (9) ทั้งนี้ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโซ่เลื่อยทำงานในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเปรียบเทียบโซ่เลื่อยกับสัญลักษณ์ทิศทางการวิ่ง (16)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าล้อปรับความตึง (13) อยู่ในตำแหน่ง –
- วางข้อโซ่ไว้รอบเฟืองโซ่ (17) แล้ววางตัวเลื่อย (9) บนสลักยึด (18)
หมายเหตุ: ในระหว่างการประกอบครั้งแรก สลัก (21) จะต้องเกี่ยวเข้าในรูประกอบบนตัวเลื่อย (9) ซึ่งอยู่ห่างจากเฟืองโซ่ (17) มากที่สุด (ดูภาพประกอบ A) - ตรวจสอบว่าชิ้นส่วนทั้งหมดอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แล้วถือตัวเลื่อยพร้อมกับโซ่เลื่อยไว้ในตำแหน่งดังกล่าว จากนั้นให้หมุนล้อปรับความตึง (13) ไปในทิศทาง + จนกระทั่งโซ่เลื่อยตึงบางส่วนและยังคงประกอบอยู่บนตัวเลื่อย
- ใส่ฝาครอบ (12) กลับเข้าที่
- ขันฝาครอบ (12) ให้แน่นเล็กน้อยโดยใช้ปุ่มหมุนปรับ (11)
- โซ่เลื่อยยังไม่ถูกขึงจนตึงเต็มที่ ซึ่งการขึงโซ่เลื่อยจะอธิบายอยู่ในหัวข้อ "การขึงโซ่เลื่อย"
การขึงโซ่เลื่อย (ดูภาพประกอบ D)
ตรวจสอบความตึงของโซ่ทั้งก่อนเริ่มงาน หลังจากตัดครั้งแรก และเป็นประจำทุกๆ 10 นาทีในระหว่างเลื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโซ่เลื่อยใหม่ที่อาจเกิดการขยายตัวขึ้นในช่วงต้น
อายุการใช้งานของโซ่เลื่อยจะขึ้นอยู่กับความตึงที่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
ห้ามขึงโซ่เลื่อยเมื่อโซ่ร้อนมาก เนื่องจากโซ่เลื่อยจะหดตัวหลังจากเย็นตัวลงและจะรัดแน่นเกินไปบนตัวเลื่อย
- วางเครื่องมือไฟฟ้าบนพื้นผิวที่ราบเรียบ
- หมุนปุ่มหมุนปรับ (11) ไปในทิศทาง เพื่อคลายตำแหน่งล็อคตัวเลื่อย
- ตรวจสอบว่าข้อโซ่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องที่ช่องนำของตัวเลื่อย (9) และบนเฟืองโซ่ (17)
- หมุนล้อปรับความตึง (13) ไปในทิศทาง + จนกระทั่งได้ความตึงโซ่ที่ถูกต้อง กลไกล็อคจะป้องกันไม่ให้โซ่คลายความตึง หากล้อปรับความตึง (13) หมุนได้ยาก คุณจำเป็นต้องคลายปุ่มหมุนปรับ (11) ไปในทิศทาง อีก ปุ่มหมุนปรับ (11) จะหมุนไปพร้อมกันเมื่อปรับตั้งล้อปรับความตึง (13) แล้ว คุณอาจจำเป็นต้องใช้มือทั้งสองข้างเพื่อจับปุ่มหมุนปรับ (11) ให้อยู่ที่ตำแหน่งเดิมในระหว่างปรับตั้งล้อปรับความตึง (13)
- โซ่เลื่อย (8) จะตึงอย่างพอเหมาะหากสามารถยกบริเวณตรงกลางขึ้นได้ประมาณ 3-4 มม. ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้มือข้างหนึ่งยกโซ่เลื่อยต้านน้ำหนักของเครื่องมือไฟฟ้า
- หากโซ่เลื่อย (8) ตึงเกินไป ให้หมุนล้อปรับความตึง (13) ไปในทิศทาง –
- เมื่อโซ่เลื่อย (8) ถูกขึงจนตึง ให้หนีบตัวเลื่อย (9) ให้แน่นโดยการหมุนปุ่มหมุนปรับ (11) ไปในทิศทาง ทั้งนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ